กะ ๒ หมายถึง ว. ใช้รวมกับคําวิเศษณ์ เช่น เหมือนกะ ราวกะ ถึงกะ. บ. ใช้นําหน้าผู้รับพูดหรือรับบอก เช่นพี่พูดกะน้อง เขากล่าวกะฉัน เขาบอกกะท่าน.สัน. ใช้แทนคําว่า กับเช่น ยายกะตา, ใช้แทนคําว่าแก่ เช่น มีกะใจ.(เป็นคําเสียงกร่อนมาจาก กับ หรือ แก่).
น. ส่วนของสมอแบบหนึ่ง ลักษณะคล้ายแขนยื่นออกไป ๒ ข้างสำหรับช่วยยึดเกาะติดพื้นท้องน้ำ.
ก. นำสมอเรือไปทอดไว้ในที่ที่เรือใหญ่ต้องการเข้าจอดหรือเทียบเรือซึ่งเป็นที่เข้าจอดหรือเข้าเทียบแล้วค่อย ๆ กว้านสมอนำเรือเข้าไป.
น. ชื่อเงื่อนชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับผูกเรือเพื่อคล้องกับที่ยึดหรือเสายึดเรือเป็นเงื่อนที่แน่นแต่แก้ออกง่าย, ถ้าผูกเงื่อนชนิดทำห่วงไว้ก่อนเรียกว่า กะห่วง.
พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อสละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคําหน้ามานํา เช่นนกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็นลูก-กะดุม.ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้,ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :-กะเกริก, กะเกริ่น.กะง่อนกะแง่น,กะเง้ากะงอด.กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ,กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้,กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋,กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง,กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม.กะฉอก,กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม.กะชดกะช้อย,กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง.กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ,กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ.กะดก, กะด้ง, กะดวง,กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม,กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน,กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก,กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ,กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว,กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได.กะตรกกะตรํา, กะต้อ,กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ,กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก,กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ,กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก.กะถด, กะถั่ว,กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน.กะทง, กะทบ, กะทอก,กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด,กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง,กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก.กะนั้น,กะนี้, กะโน้น, กะไน.กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก,กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้,กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา,กะแบะ.กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด,กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ,กะโปก.กะผลีกะผลาม, กะผีก.กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง,กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ,กะเพิง, กะเพื่อม.กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย.กะมัง,กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ.กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง,กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด.กะรอก, กะเรียน,กะไร.กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู.กะวาน, กะวิน,กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน.กะสง,กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน,กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ,กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน,กะแสง, กะแสะ.กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม,กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้.กะอ้อกะแอ้,กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. เครื่องมือจับปูทะเล เป็นของชาวประมงตั้งแต่จังหวัดชุมพรถึงสุราษฎร์ธานี, บางทีเรียกว่า กร่อม หรือ ตะกร่อม,ใช้ไม้ไผ่อันเดียวผ่าตอนปลายออกเป็น ๔ ซี่ และซี่เหล่านั้นเหลาให้อ่อน จะเป็นรูปกลมหรือแบนก็ได้ เอาวงแหวนทําด้วยไม้ไผ่หรือหวายหรือลวดใส่ในหว่างซี่เหล่านั้นเพื่อบังคับให้ถ่างออก.
(กลอน) ว. มีเสียงอย่างขบฟันดังกร้วม ๆ, (โบ) เขียนเป็น กกร้าวก็มี เช่น กเกรอกขบฟนนก็ดูร้าว กกร้าวขบฟนนกดูแรง.(ม. คําหลวง มหาราช).
น. โกฐกะกลิ้ง. (ดู โกฐกะกลิ้ง ที่ โกฐ).